หลังจากที่มีการประกาศปิดร้านค้าและสถานประกอบการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีประชาชนทยอยกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก ทั้งวิธีการเดินทางด้วยรถตู้ รถทัวร์ และเครื่องบิน จนส่งผลทำให้เกิดความวิตกกังวลในกลุ่มเพื่อนบ้านที่มีเพื่อนหรือญาติกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง วันนี้ไทยรัฐออนไลน์มีวิธีการป้องกันตัวของผู้ที่กำลังจะเดินทาง และผู้ที่อยู่ในชุมชนเพื่อลดความหวั่นใจไม่ตระหนก มาบอกกล่าวกัน มาดูกันว่าเราสามารถลดเชื้อแพร่กระจายได้อย่างไรบ้าง
คนเมืองกลับภูมิลำเนา ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ?
1. รายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรค
เมื่อตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะเดินทางกลับภูมิลำเนา ต้องรายงานตัวกับเจ้าพนักงานควบคุมโรคในท้องถิ่น พนักงานควบคุมโรคคือใคร? .. ตามขอบเขตของกฎหมาย กำหนดผู้ดูแลรับผิดชอบโดยได้รับอำนาจตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ไว้ว่า เป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, ผู้อำนวยการโรงพยาบาล, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน, สาธารณสุขอำเภอ นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภออีกด้วย และปี 2563 ได้เพิ่มเติม ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตร กำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน รวมข้าราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และจังหวัดด้วย
2. กักตัวในบ้าน 14 วันทุกคน
ไม่คิดว่าตัวเองปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงให้เป็น 0% คุณต้องกักตัวเองเมื่อเดินทางกลับต่างจังหวัด 14 วัน แม้ว่าโควิด-19 อาจจะไม่แสดงโรครุนแรงในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่หากผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มเสี่ยงได้รับเชื้อ เขาอาจจะแสดงอาการที่รุนแรงได้ ดังนั้นการกักตัวเองอยู่บ้านจึงเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
3. เว้นระยะห่างจากทุกคน 1-2 เมตร
เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อโควิด-19 ให้เว้นระยะจากผู้อื่น 1 ช่วงแขน อาจจะมีระยะ 1-2 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันละอองฝอยที่อาจมากับลมหายใจ หรือติดอยู่ตามเสื้อผ้าไม่ให้สัมผัสกัน ซึ่งต้องระวังไว้ก่อนแม้ว่าเราจะไม่ติดโรคก็ตาม
4. วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน
โดยอุณหภูมิที่ระบุว่าเป็นไข้คือ 37.5 องศาเซลเซียส หากพบว่าตัวเองมีอาการเป็นไข้ เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก หอบเหนื่อย แจ้งประสานงานกับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในท้องที่ หรือโทร. 1669 เพื่อให้มารับตัวจากที่บ้านได้
5. ดูแลสุขอนามัยตัวเอง ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ทั้งการล้างมือ ปิดปากด้วยหน้ากากผ้าหากไม่ป่วย ลูบมือด้วยแอลกอฮอล์เจล แยกการใช้ช้อนส้อม ก็ช่วยลดการแพร่เชื้อได้ มีผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าของตัวเอง ซักและตากแดดจัดๆ เพื่อฆ่าเชื้อ
6. แยกห้องนอน
เมื่ออยู่กับผู้อื่นในบ้านก็ควรแยกห้องนอนเป็นสัดส่วน รวมถึงแยกกันเก็บเสื้อผ้า และของใช้ส่วนตัว ไม่ให้ปะปนกัน รวมไปถึงควรแยกใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม หลอดดูดน้ำ แก้วน้ำ และแยกฟองน้ำที่ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ของคุณด้วย
7. แยกขยะของตัวเอง
ทุกขยะที่มาจากการใช้งานส่วนตัว แยกทิ้งคนละถุง พวกขยะที่สามารถติดเชื้อได้ อย่างกระดาษทิชชูซับหน้าที่ผ่านการสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย ก็ทิ้งไว้ถุงหนึ่ง ขวด หรือ ถุงพลาสติกทั่วไปก็แยกทิ้งไว้อีกถุงหนึ่งได้ และทำความสะอาดถังขยะด้วยการราดน้ำยาฟอกขาวเพื่อฆ่าเชื้อ
8. แยกห้องน้ำกับคนอื่นในครอบครัว
แยกห้องอาบน้ำและห้องส้วม และควรปิดฝาชักโครกก่อนกดทุกครั้ง และทำความสะอาดห้องน้ำด้วยการฆ่าเชื้อจากน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือน้ำยาฟอกขาวได้ ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด
9. งดการเดินทางไปยังที่ชุมชน
งดร่วมงานบุญ งานบวช ทุกงาน ใช้วิธีฝากซองแทน รวมถึงงานอวมงคลต่างๆ ที่ต้องรวมญาติเยอะๆ ก็ไม่ควรไป ที่สำคัญคือแม้เป็นตลาดก็ไม่ควรไป ต้องการข้าวของเครื่องใช้ให้ฝากคนในบ้านซื้อไปก่อน
10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ควบคุมโรค
เนื่องจาก พ.ร.บ.โรคติดต่อ ได้มีผลบังคับใช้แล้ว เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาตรวจสอบ และเข้ามายังอาคารบ้านเรือนเพื่อตรวจสอบ ควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย
ผู้เดินทางกลับจากภูมิลำเนาควรปฏิบัติทุกข้ออย่างเคร่งครัดในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้เพื่อนบ้านไม่สบายใจ หากเราดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดีก็จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ และเพื่อนบ้านก็จะไม่ลำบากใจในการพูดเตือนคุณ
คนในหมู่บ้านจะมีวิธีอยู่ร่วมกับ ผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงอย่างไร ?
1. แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคประจำท้องถิ่น หากบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยงยังไม่ได้รายงานตัว เจ้าพนักงานควบคุมโรคที่ใกล้ตัวมากที่สุดคือ ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน โดยเริ่มต้นอาจจะสอบถามว่าบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยงได้มารายงานตัวหรือยัง หากยังก็แจ้งชื่อ และบ้านเลขที่ นอกจากนี้คนในชุมชนสามารถร่วมประชุมกันเพื่อหาแนวทางวางแผนป้องกัน และช่วยเหลือกันในยามฉุกเฉินได้ด้วย 2. เตรียมของใช้จำเป็นไว้ให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ช่วยเหลือดูแลญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านที่มาจากพื้นที่เสี่ยง เพื่ออำนวยความสะดวกให้พวกเขาไม่ต้องเดินทางในช่วงเวลากักตัว 14 วัน ทั้งเรื่องอุปกรณ์รับประทานอาหาร และน้ำยาซักล้างต่างๆ รวมถึงน้ำยาฆ่าเชื้อโรคด้วย 3. เตรียมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อความมั่นใจแม้ว่าญาติพี่น้องของเราจะไม่ได้ติดเชื้อก็ตาม ควรแยกห้องนอน ห้องน้ำ ตามคำแนะนำของกรมอนามัย 4. จัดสำรับอาหารไว้ให้โดยเฉพาะ เพื่อลดการรับประทานอาหารร่วมวง ก็ใช้วิธีรับประทานอาหารจานเดียว แยกสำรับอาหารไว้อีกชุด แยกจุดรับประทานอาหาร ในช่วงระยะเวลากักตัว 14 วันนี้อาจจะลำบากหน่อย แต่เชื่อว่าไม่นานพวกเราจะผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ 5. ส่งตัวรักษา หากผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงแสดงอาการ หากผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค 5 ข้อ และมีอาการเป็นไข้ ร่วมกับอาการอื่นที่เกี่ยวข้อง มีประวัติเดินทางไปยังพื้นที่โควิด-19 ระบาด, ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่โควิด-19 ระบาด, มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 และมีอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ต้องรีบแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคท้องถิ่นเพื่อให้ส่งตัวรักษาต่อขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ไทยรัฐ
Admin แนะนำบทความ ที่น่าสนใจอื่นๆ...
-
5 ที่พักในปารีส นอนชมวิวบรรยากาศ หอไอเฟล Eiffel Tower >>>Click
-
วัดนาจิซัน เซกันโต-จิ เมืองวาคายามะ ไม่ไปไม่ได้แล้ว!! >>>Click
-
Grand Prismatic Spring (บ่อน้ำพุร้อนสีรุ้ง) สวยที่สุดในโลก >>>Click
-
ท่าอากาศยานดอนเมือง มีจุดให้บริการจอดรถ(Parking)กี่แห่ง >>>Click
-
ปีใหม่เที่ยวไหนดี ที่เที่ยวน่าฟินทิ้งท้ายปีเก่าเริ่มปี 2563 กัน >>>Click
-
3 เทศกาลงานดอกไม้ไฟ ณ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ควรพลาด >>>Click
-
แนะนำ สเต็กร้าน Ribs of Vienna ขึ้นชื่อเวียนนา , ออสเตรีย >>>Click
-
เที่ยวทั่วไทยไปไหนก็ฟิน ไม่ต้องบินไปไกลถึงเมืองนอก >>>Click
-
ไต้หวันขยายเวลา ฟรีวีซ่า VISA FREE !!! คนไทย ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 กรกฎาคม 2563 >>>Click
-
40 ที่เที่ยวญี่ปุ่น ยอดนิยมไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ >>>Click
-
50 เมืองน่าเที่ยวทั่วโลก ที่ควรไปเยือนสักครั้ง >>>Click
- บุฟเฟ่ต์ขาปู ร้านดัง かに源 KANIGEN เมืองโอซาก้า >>>Click
-
แนะนำ 8 ปิ้งย่างร้านดัง Yakiniku เมืองโอซาก้า>>>Click